ทำให้ในปี พ.ศ.2504 นายกอง วิสุทธารมณ์ ที่ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา ได้ส่งข้าราชการไปศึกษาดูงานการก่อสร้างสระว่ายน้ำ และ การพลศึกษา ที่ประเทศฟิลิปปินส์, ฮ่องกง, ไต้หวัน, และญี่ปุ่น เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อนำความรู้และเทคนิคใหม่ๆ มาใช้สร้างสระว่ายน้ำให้มีขนาดเท่ามาตรฐานสากลของกีฬาโอลิมปิก มีหอกระโดด และอุปกรณ์สระว่ายน้ำครบถ้วน มีอัฒจันทร์ 2 ด้าน
โดยรัฐบาลไทยสมัยนั้นเป็น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติงบประมาณก่อสร้าง 10 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างสระว่ายน้ำมาตรฐานขนาดความยาว 50 เมตร กว้าง 25 เมตร และ ลึก 2 เมตร มีลู่ว่าย 9 ลู่ มีอัฒจันทร์ 2 ฝั่ง สถานที่ตั้งอยู่ภายในกรีฑาสถานแห่งชาติ โดยให้ใช้ชื่อว่า "สระโอลิมปิก"
สระโอลิมปิกแห่งนี้คือสระว่ายน้ำมาตรฐานสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติแห่งแรกของไทย โดยมี 3 ชนิดกีฬาใช้ในการเก็บตัวฝึกซ้อมก็คือ ว่ายน้ำ, โปโลน้ำ และ กระโดดน้ำ โดยมีคำบอกเล่าจากนักกีฬารุ่นแรกๆว่า
"เมื่อ 60 ปีที่แล้ว สระว่ายน้ำในกรุงเทพฯ ยังมีจำนวนไม่มากนัก และสระว่ายน้ำโอลิมปิกในสนามกีฬาแห่งชาติ ปทุมวัน ซึ่งเป็นสระของทางราชการอยู่ในความดูแลของกรมพลศึกษาจึงเป็นที่สุดของความนิยมของคนกรุงที่จะมาเล่นหรือออกกำลังกายกัน ซึ่งสมาคมว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งแห่งประเทศไทย (ชื่อในสมัยนั้น) ก็ได้รับความอนุเคราะห์ให้ใช้สระนี้เป็นที่ฝึกซ้อมนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติในช่วงเวลา 17.00-19.00 น. หลังจากประชาชนทั่วไปจะใช้สระได้จนถึงเวลา 16.00 น. แต่ก็มีนักธุรกิจและผู้ใหญ่บางท่านที่ใช้สระในรอบสุดท้ายอาจจะล้ำเข้ามาในเวลาที่สมาคมต้องใช้บ้าง"
"พล.ร.ต.ประเวช โภชนสมบูรณ์ หรือที่นักว่ายน้ำ (เด็กสระโอ) มักจะเรียกท่านว่า อ.ประเวช หรือ อ.เวช ซึ่งได้รับมอบหมายจากสมาคมว่ายน้ำฯ ให้รับผิดชอบการฝึกซ้อมนักกีฬา ท่านก็เห็นใจนักธุรกิจและผู้ใหญ่เหล่านี้ว่ามีเวลาน้อยในการใช้สระ ท่านก็ไม่ได้ว่าอะไรและได้แบ่งลู่ที่ 9 ให้ใช้ และนักกีฬาจะใช้ลู่ 1-8"
"นานวันเข้านักกีฬา ผู้ปกครอง และกรรมการสมาคมก็มีความสนิทสนมกับท่านเหล่านี้ และท่านเหล่านี้ก็เริ่มศึกษากติกาต่างๆ และว่ายตามท่าว่ายที่ถูกกติกา บ่อยครั้งที่สมาคมจัดการแข่งขันก็จะเชิญมาร่วมเป็นกรรมการในหน้าที่ต่างๆ ร่วมกับผู้ปกครองและนักกีฬาที่ไม่ได้แข่งขัน โดยกรรมการในสมัยนั้นไม่มีเบี้ยเลี้ยง บ่อยครั้งที่ท่านเหล่านี้จะเป็นสปอนเซอร์เลี้ยงทั้งกรรมการและนักกีฬา และ อ.ประเวช จึงเริ่มจัดให้ท่านเหล่านี้ได้มีการแข่งขันกันเองร่วมกับผู้ปกครองนักกีฬาขึ้นมา โดยจะเป็นรายการที่ต่อจากการแข่งขันรายการต่างๆหมดสิ้นแล้ว
"ซึ่งกติกาก็มีเพียงว่าต้องมีอายุ 50 ปีขึ้นไป (มีเพียงรุ่นเดียว) ท่าว่ายต้องไม่ผิดกติกามากจนเกินไปนัก จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขันว่ายน้ำผู้สูงอายุแต่นั้นมา ขอบันทึกชื่อนักกีฬาสูงอายุรุ่นแรก ๆ (เท่าที่จำได้) เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านเหล่านั้น ดังนี้ คุณไชยยศ สุขะวิริยะ, คุณจุน เจียรจารุวัตร, คุณโยคี บัติรินทร์, ยี่เสี่ย G. Simon (จำชื่อท่านไม่ได้), คุณจำลอง สุวรรณทัต, คุณวิเชียร พีระธำรงกุล, คุณทองใบ สาหินกอง, อ.ประวิทย์ โภชนสมบูรณ์, คุณชนะ คิดชอบ"
นี่ก็คือเรื่องเล่าของนักว่ายน้ำรุ่นแรกของสระโอลิมปิกที่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ว่าสมัยก่อนนั้นประชาชนทั่วไปสามารถร่วมฝึกซ้อมไปกับกลุ่มนักกีฬาทีมชาติได้อย่างเปิดเผย และยังมีการแข่งขันระหว่างกลุ่มประชาชนที่มาใช้บริการที่สระโอลิมปิก และประชาชนทั่วไปที่มาเห็นการฝึกซ้อมของทีมชาติก็เกิดแรงบันดาลใจจนอยากเป็นนักกีฬาก็มี และความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อของ พล.ร.ต.ประเวช โภชนสมบูรณ์ ก็สามารถซื้อใจกลุ่มประชาชนที่มีกำลังทรัพย์ให้เข้ามาช่วยสนับสนุนสมาคมในภายหลังอีกด้วย
กาลเวลาล่วงเลยมาก็มีหลายสระว่ายน้ำได้กำเนิดขึ้น UFA23 ซึ่งในเวลาเดียวกันนั้นชาวพลศึกษารุ่นหลังได้ระลึกถึงคุณงามความดีของ นายกอง วิสุทธารมณ์ อดีตอธิบดีกรมพลศึกษา และเป็นผู้ริเริ่มสร้างสระว่ายน้ำมาตรฐานโอลิมปิก จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก "สระว่ายน้ำโอลิมปิก" เป็น" สระว่ายน้ำวิสุทธารมณ์" เพื่อเป็นเกียรติและเป็นอนุสรณ์สถานแด่ นายกอง วิสุทธารมณ์ อดีตอธิบดีกรมพลศึกษา